กรมส่งเสริมการเกษตรเผยความก้าวหน้าการพัฒนาเกลือทะเลครึ่งปีแรก

เมื่อวันที่  7 เมษายน 2565นายชาญยุทธ์ ภาณุทัต ที่ปรึกษากรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดำเนินงานและชี้แจงโครงการพัฒนาเกลือทะเลครบวงจร ปี 2575  โดยมีนางสาวนันทมาส ทองปลี รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย ตลอดจนผู้แทนจาก สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 3 5 สำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอ ในพื้นที่ 7 จังหวัด เข้าร่วมการประชุม ผ่านระบบ VDO Conference จากห้องประชุม 5 ชั้น 5 อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร

โดยที่ประชุมได้รับทราบ การดำเนินการพัฒนาเกลือทะเลไทย ประจำปี 2565 ในรอบ 6 เดือน ได้แก่

  • การดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาเกลือทะเล ปี 2564 โดยได้ช่วยเหลือเกษตรกรนาเกลือ จำนวน 111 ราย ปริมาณเกลือ 39,841.17 ตัน ใช้เงินงบประมาณ 9,960,291.75 บาท
  • การสืบสารพิธีทำขวัญเกลือ เพื่อเป็นต้นแบบให้เกษตรกรนาเกลือในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ได้ร่วมสืบสานพิธีทำขวัญเกลือในปีต่อไป พร้อมเตรียมจัดงานแรกนาเกลือในช่วงปลายปี 2565
  • การตรวจเยี่ยมเกษตรกร/หน่วยงานภาคี 2 ครั้ง ณ จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาเกลือทะเลไทย สนับสนุนโครงการยกระดับแปลงใหญ่ พัฒนาผลผลิตเกลือให้มีคุณภาพและปริมาณมาก แลกเปลี่ยนปัญหา อุปสรรค แนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกับเจ้าหน้าที่และเกษตรกร โดยเฉพาะด้านการเชื่อมโยงการผลิตเกลือกับผู้ประกอบการที่ใช้เกลือเป็นวัตถุดินและผู้ค้าส่งเกลือทะเล
  • การจัดทำแนวทางการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการปลีกย่อย เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564

ทั้งนี้ ผู้แทนสำนักงานเกษตรจังหวัด 7 จังหวัด รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาเกลือทะเลครบวงจร โดยทุกจังหวัดได้ดำเนินการแล้วเสร็จเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ และประธานที่ประชุมเสนอแนะให้สำนักงานเกษตรจังหวัดรายงานผลการดำเนินงาน ในระบบฐานข้อมูลเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตร (ระบบ RBM) กสก 03 โครงการพัฒนาเกลือทะเลครบวงจร

ในการนี้ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย ได้ชี้แจงโครงการจัดทำแผนการจัดการพื้นที่การผลิตที่เหมาะสมสำหรับเกลือทะเล (Zoning) แก่สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 3 และ 5 ถึงแนวทางการดำเนินงาน ผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรม โดยให้จัดทำแผนการจัดการพื้นที่การผลิตที่เหมาะสมสำหรับเกลือทะเล (Zoning) ในรูปแบบเอกสาร นิทรรศการ แผ่นพับประชาสัมพันธ์ หรือรูปแบบอื่นๆ ทั้งในรูปแบบเอกสารและดิจิตอลเพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ หน่วยงานละ 1 เรื่อง รวมทั้งคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมตามหลักเกณฑ์ของการยื่นขอขึ้นทะเบียนมรดกการเกษตรโลก

You may also like...

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *