ลงพื้นที่ศึกษาภูมิปัญญาการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยของจังหวัดพัทลุง ที่รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ให้เป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย

วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 นายชาญยุทธ์ ภาณุทัต ที่ปรึกษากรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย ลงพื้นที่ศึกษาภูมิปัญญาการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยของจังหวัดพัทลุง ที่รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ให้เป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย (Globally Important Agricultural Heritage Systems: GIAHS) ณ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวเข้าร่วมประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ ผู้แทนเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุง สำนักงานเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา สำนักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองปัตตานี อาจารย์จากมหาวิทยาลัยทักษิณ และผู้อำนวยการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง ในการนี้ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการยื่นขอระบบมรดกทางการเกษตรโลก สร้างความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ปกป้องและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรทางชีวภาพให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัะยากรธรรมชาติอย่างยั่งยื่น อีกทั้ง อาจารย์จากมหาวิทยาลัยทักษิณแนะแนวทางการขอระบบมกดกทางการเกษตรโลกโดยให้ข้อแนะนำการศึกษาข้อมูลและนำงานวิจัยมาสนับสนุนพื้นที่ พื้นที่ต้องมีลักษณะโด่นเด่น มีเอกลักษณ์ การเขียนเรื่องราวให้เชื่อมโยง ทั้ง 5 ด้านของหลักการพิจารณา ได้แก่ 1 ความมั่งคงดารอาหาร/ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี 2 ความหลากหลายทางชีวภาพการเกษตร 3 ระบบความรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีนาตั้งแต่ดั้งเดิม 4 วัฒนธรรม ระบบคุณค่า และอบค์กรทางสังคม5 ลักษณะภูมิทัศน์/และภูมิทัศน์ทางทะเล ให้เป็นมิตรกับสิ่งล้อม พร้อมทั้งร่วมเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงานการขอระบบทางการเกษตรโลก ด้านการทำนาเกลือทะเลต่อไป

You may also like...

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *