สำรวจและจัดเก็บข้อมูลมรดกทางการเกษตรโลก ณ จังหวัดปัตตานี

วันที่ 2-3 กันยายน 2567 นางวชิรา ไฝเจริญมงคล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ได้มอบหมายให้ นางสาวนันทมาส ทองปลี ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกลือทะเลไทย และ เจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่สำรวจและจัดเก็บข้อมูลมรดกทางการเกษตรโลก ณ จังหวัดปัตตานี โดยมีอาจารย์เชิดศักดิ์ เกื้อรักษ์ ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านGIAHS นายฉลาด แก้วขาว เกษตรและสหกร์จังหวัดปัตตานี ผู้แทนสำนักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองปัตตานี ผู้แทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เกษตรกรนาเกลือ เข้าร่วมการสำรวจ
ในการนี้คณะผู้สำรวจได้ชี้แจ้งวัตถุประสงค์ ความสำคัญ แนวทางการขอรับรองพื้นที่เป็นมรดกเกษตรโลก ประโยชน์ที่จะได้รับจากการได้รับรอง
อีกทั้ง ร่วมรับฟังวิธีการทำนาเกลือของกลุ่มเกษตรกรชาวนาเกลือในพื้นที่ ภูมิปัญญาดั้งเดิมของการทำนาเกลือมุสลิม ปัญหาที่ด้านพื้นที่ ภัยพิบัติ การตลาดของการทำนาเกลือ และความคาดหวังของเกษตรกร นอกจากนี้ยังลงสำรวจพื้นที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาเกลือบานาหมู่ที่ 2 เยี่ยมชมการแปรรูปผลผลิตเกลือทะเลสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรนาเกลือ ศึกษาระบบนิเวศ เส้นทางการท่องเที่ยวป่าชายเลน อ่าวปัตตานี เชื่อมโยงไปสู่แปลงนาเกลือและวิถีชีวิตเกษตรกรนาเกลือ ซึ่งสภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการทำนาเกลือ เป็น 1 ใน 5 หลักเกณฑ์สำคัญในการขอขึ้นทะเบียนนาเกลือทะเลเป็นมรดกทางการเกษตรโลก GIAHS
พร้อมด้วยแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ประวัติศาสตร์การทำนาเกลือ งานวิจัยเกลือทะเลจากอาจารย์ ไพรัตน์ จีรเสถียร ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และอาจารย์นราวดี โลหะจินดา อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
โดยในการลงพื้นที่สำรวจในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญเพื่อประกอบการขอรับรองมรดกทางการเกษตรโลก แต่ยังเป็นการยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์และส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จะเป็นประโชยน์แก่ชุมชนและคนรุ่นหลังสือไป

You may also like...